0 Your รถเข็นว่าง
17/09/2019
โดย Champ Milework

เรื่องเกียร์เป็นสิ่งที่สำคัญของรถ

ไม่ว่าจะเป็นรถน้ำมัน หรือรถไฟฟ้า ล้วนต้องใช้เกียร์ทั้งสิ้น

วันนี้ MileworkTV พาคุณไปเรียนรู้เกี่ยวกับระบบเกียร์อย่างละเอียด แบบห้ามพลาด! แชร์ความรู้แบบไม่มีกั๊ก


ระบบเกียร์

หน้าที่: ส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเพลาขับ ด้วยอัตราทดที่เหมาะสมกับสภาวะการใช้งาน โดยเกียร์มี 2 ชนิด ได้แก่ เกียร์ธรรมดา(รวมถึงเฟืองท้าย) และเกียร์อัตโนมัติ(Auto)


เกียร์ออโต้

Dual Clutch คือ ระบบคลัตช์แห้งแบบแผ่นหรือชุดตัดต่อกำลังจากฟลายวีลไปยังชุดเกียร์ ซึ่งใช้ชุดคลัตช์ 2 ชุดทำงานสลับกัน ชุดแรกจะช่วยเข้าตำแหน่งเกียร์ 1,3,5 ชุดที่สองจะคอยเข้าเกียร์ 2,4,6ทำให้การตัดต่อกำลังและการเปลี่ยนเกียร์รวดเร็วทันใจ โดยมีกลไกไฟฟ้าหรือระบบไฮดรอลิกช่วยทำน้าที่ในการกดคลัตช์แทนขาของผู้ขับนั่นเอง


Torque Converter คือ ชุดตัดต่อกำลังมีลักษณะคล้ายล้อกลม ๆ ภายในมีชุดกังหันหรือใบพัด 2 ชุดและรีดบังคับน้ำมันประกบอยู่ ทำงานโดยการใช้น้ำมันเกียร์เป็นตัวส่งผ่านกำลังจากใบพัดชุดที่รับกำลังมาจากฟลายวิลไปปั่นใบพัดอีกฝั่งที่ติดกับชุดเกียร์ ให้หมุนตาม เปรียบเสมือนการเอาพัดลม 2 ตัวหันหน้ามาชนกันและเปิดเพียง 1 ตัว ตัวที่ไม่เปิดใบพัดจะหมุนตามแรงลมโดยที่ “ลม” ก็เปรียบเสมือนกับน้ำมันเกียร์ที่อยู่ภายในระบบทอร์คคอนเวอร์เตอร์นั่นเอง


CVT คือ ชุดส่งกำลังที่ใช้ระบบสายพานโลหะ อยู่ระหว่างชุดพูเล่ย์ขับกับพูเล่ย์ตามซึ่งร่องของพูเล่ย์ทั้งสองจะสามารถขยับเข้า-ออกได้ ตามโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์หรือสมองเกีบร์สั่งการว่าจะถ่างออกหรือหุบเข้ามากน้อยเพียงใด และในขณะเดียวกันก็สามารถแปรผันให้ความเร็วของพูเล่ย์ตัวตามนั้น เร็วขึ้นหรือช้าลงได้และทำให้เกิดอัตราทดขึ้น ระบบ CVT จึงใช้การขัยบเข้า-ออกของพูเล่ย์ทั้งสองตัวแทนการใช้เฟืองเกียร์ทำให้มีชิ้นส่วนน้อยกว่า น้ำหนักเบากว่าและการบำรุงรักษาน้อยกว่าเกียร์ทั่วไป


เกียร์อัตโนมัติ


เกียร์อัตโนมัติมี 2 แบบ

1. Torque Converter และ DCT

2. CVT


น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ

หน้าที่

-ส่งถ่ายกำลังในระบบ Torque Converter

-หล่อลื่นป้องกันการสึกหรอในชุดเกียร์

-หล่อลื่นระบบคลัทช์เปียก

-เป็นน้ำมันไฮโดรลิกในระบบสมองกลควบคุมการทำงานของเกียร์

-ระบายความร้อนในเรือนเกียร์


คุณสมบัติที่ควรมี

-มีความหนืดเหมาะสม

-ทนทานต่อแรงเฉือน

-ทนความร้อนและปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น

-ป้องกันการเกิดฟอง

-ต้านความฝืดได้อย่างเหมาะสม

มาตรฐานน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ

General Motor (GM) Dexron ของ Ford Alison C3 หรือแม้แต่ Caterpillar TO-2, To-4

* ควรเปลี่ยนถ่ายเมื่อพบว่ามีสีส้มแล้ว

*น้ำมันเกียร์เกรดที่ต่ำกว่า สามารถใช้เกรดสูงกว่าแทนได้

*ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ตายตัว ยังต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบเรือนเกียร์ของรถแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้ออีกด้วย


น้ำมันเกียร์

หน้าที่

-ลดแรงเสียดทานและการสึกหรอ

-ลดเสียงดังและการสั่นสะเทือนในเรือนเกียร์

-ชะล้างเศษโลหะจากหน้าฟันเกียร์ที่เกิดจากการทำงานและการเสียดสี

-ป้องกันสนิมและการกัดกร่อน


คุณสมบัติ: เกียร์น้ำมันเกียร์ธรรมดาและเฟืองท้าย

-ควรมีสารรับแรงกดสูง Additive เคลือบผิวฟันเกียร์

-ทนความร้อนและปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น

-ไม่กัดกร่อนวัสดุในเรือนเกียร์


มาตรฐานความหนืด SAE

แบบเกรดเดียว 90,140 (จะมีเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียว)

แบบมัลติเกรด 80W-90, 80W140

:: ให้ดูที่ฉลากบรรจุภัณฑ์ ดังนี้

SAE 90, SAE 140 คือค่า 90 และ 140 เป็นค่าความหนืด ตัวเลขยิ่งมากค่าความหนืดยื่งมาก

SAE 80W-90, SAE 80W-140 คือค่า 80W ตัวหน้าเป็นค่าความหนืดเมื่อยังไม่ได้ใช้งานอุณหภูมิปกติ


ข้อควรระวัง ในรถยนต์บางยี่ห้อและบางรุ่นจะใช้น้ำมันเครื่องแทนน้ำมันเกียร์ เช่นยี่ห้อ ISUZU : ให้ดูจากคู่มือประจำคู่รถก่อน

เช็คราคาน้ำมันเกียร์ คลิ๊ก : https://www.milework.com/c

hemical-and-fluid/gear-oil/


เฟือง

เฟืองเกียร์ หลัก ๆ จะมี 4 ประเภท

  1. แบบ Spur Gears เฟืองฟันตรงขบกัน
  2. แบบ Helidal Gears ฟันเฉียงขบกัน
  3. แบบ Skew Gears เฟืองเล็กขบเยื้องกับเฟืองใหม่
  4. แบบ Hypoid Gears เฟืองเล็กหมุนอยู่บนจานขนาดใหญ่

มาตรฐานด้านความหนืด API GL1-GL5

GL1 = รถที่ใช้เฟืองตัวหนอน ใช้งานเบา

GL2 = เกรดสูงขึ้นมาหน่อย ใช้กับเฟืองตัวหนอนเช่นเดียวกัน สามารถรับน้ำหนักและทนความร้อนได้สูงกว่า GL1

GL3 = เกรดสูงกว่า GL2

GL4 = ไฮปอยด์เกียร์ ทำงานใต้สภาวะความเร็วสูง แรงบิดต่ำหรือความเร็วต่ำแต่แรงบิดสูง

GL5 = ไฮปอยด์เกียร์ ทำงานใต้สภาวะ ความเร็วต่ำแต่มีการกดดันสูง แรงบิดสูงหรือความเร็วสูงแรงบิดต่ำ


GL4 และ GL5 : ปัจจุบัน


ซื้อเลย

ความคิดเห็น

ขอถามผู้รู้คับวีออส2010เกียร์ธรรมดาควรใช้น้ำมันเกียรแบบไหนดีคับขอทราบตัวเลขหรือสัญญาลักษ์ก็ได้คับ
แสดงความคิดเห็น
บทความล่าสุด บทความล่าสุด