0 Your รถเข็นว่าง
02/09/2020
โดย Champ Milework

ขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไรไม่ให้เครื่องดับ?

ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถยนต์กับน้ำท่วมนั้นไม่ถูกกัน ถ้าน้ำเข้าไปในระบบเครื่องยนต์ของรถยนต์จะส่งผลเสียร้ายแรงต่อเครื่องอย่างแน่นอน แต่บ่อยครั้งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ วันนี้ Milework ได้นำความรู้ดีๆเกี่ยวกับการขับรถลุยน้ำเมื่อจำเป็นต้องลุยจริงๆ



1.ชะลอความเร็ว เมื่อเจอฝนตกหรือเห็นน้ำท่วมขังรอระบายอยู่ข้างหน้าให้ลดความเร็วลงทันทีครับ เนื่องจากน้ำที่ท่วมขังจะส่งผลต่อผิวสัมผัสยางกับพื้นถนน ให้สัมผัสกันน้อยลงอาจก่อให้เกิดอาการเหินน้ำ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ รถอาจสะบัด นอกจากนั้นระบบเบรคยังจมอยู่ใต้น้ำอีกด้วย ส่งผลให้ประสิทธิภาพเบรคลดลง เบรคไม่ค่อยอยู่ หากน้ำท่วมขังลึกแล้วล่ะก็ การเร่งเครื่องยนต์แรงๆรอบเครื่องสูงๆ ยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการที่น้ำจะเข้าเครื่องยนต์มากขึ้นอีกด้วย





2.เลือกเลนที่น้ำท่วมขังน้อยที่สุด ถนนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นหลังเต่าเพื่อให้น้ำไหลออกด้านข้าง ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วเลนซ้ายสุดจะเป็นเลนที่น้ำท่วมลึกที่สุด ถ้าเป็นไปได้ก็เลือกขับชิดขวานะครับ





3.ปิดแอร์รถยนต์ เนื่องจากพัดลมของแอร์อาจพัดน้ำกระเด็นเข้าเครื่องหรือระบบไฟฟ้าได้ เพื่อลดความเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการเปิดแอร์แล้วขับรถลุยน้ำท่วม แนะนำให้ปิดแอร์ก่อนที่จะต้องลุยน้ำท่วม(เฉพาะที่ท่วมลึกๆนะครับ ท่วมนิดเดียวไม่เป็นไร)




4.ใช้เกียร์ต่ำ ถ้าเป็นเกียร์ออโต้อาจใช้เกียร์ L เนื่องจากต้องลดความเร็วขณะขับต้านแรงน้ำไป แต่ถ้าหากรอบต่ำจนเกินไปอาจเสี่ยงเครื่องดับ ดังนั้นควรใช้เกียร์ต่ำแล้วรักษาระดับรอบเครื่องยนต์ให้อยู่ที่ 1,500-2,000 รอบ โดยประมาณ แต่อย่าให้สูงเกินไป เพราะหากรอบเครื่องสูงกว่านี้ ระบบจะมีการดูดอากาศเข้ามากขึ้นซึ่งอาจดูดน้ำเข้าไปได้




5.หากรถดับไม่ควรสตาร์รถใหม่ในตอนที่ยังจมน้ำอยู่ เพราะจะยิ่งทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์มากขึ้น หรือระบบไฟต่างๆอาจช๊อต ลัดวงจร หนักขึ้นกว่าเดิม หารถลาก หรือเข็นให้รถพ้นน้ำไปก่อน อย่างน้อยให้พ้นน้ำลึกไปก่อน ให้น้ำมีระดับต่ำกว่าครึ่งล้อไปแล้วค่อยลองสตาร์ทใหม่


น้ำท่วมขังรอการระบายอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นผู้ขับขี่ควรใช้ความระมัดระวังทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่นนะครับ หากรถลุยน้ำนานๆ บ่อยๆ หรือจอดแช่น้ำเป็นเวลานาน ช่วงล่างควรอัดจารบีใหม่นะครับ เพราะจารบีเก่าหมดสภาพแล้ว

สั่งซื้อจารบีออนไลน์ได้ที่ Milework

ซื้อเลย



ความคิดเห็น

ยังไม่มีผู้แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น
บทความล่าสุด บทความล่าสุด