0 Your รถเข็นว่าง
04/12/2019
โดย eye milework

ดอยอินทนนท์นับว่าเป็นดอยที่อยู่คู่คนไทยมาช้านานเพราะดอยอินทนนท์เป็นดอยที่มียอดสูงที่สุดในประเทศไทยวัดจากระดับน้ำทะเลประกอบกับมีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมากมายระหว่างทางขึ้นดอยอินทนนท์ เช่น น้ำตกดังๆหลายน้ำตก หรือ สวนเกษตรต่างๆทำให้ผู้คนต่างหลั่งไหลกันไปเยี่ยมชมความงามของธรรมชาติบนดอยอินทนนท์ ในช่วงวันหยุดเทศกาลกันอย่างล้นหลามดอยอินทนนท์เป็นดอยที่สูงที่สุดวิวสวย ขับ ขึ้น-ลง ไม่ยากเท่าไรเพราะถนนค่อนข้างดีและกว้าง วันนี้ทาง Milework TV ได้รวบรวมความปลอดภัยในการขับรถขึ้น-ลง ดอยอินทนนท์มาฝากกัน


1. ตรวจเช็ครถก่อนออกเดินทางไกล

โดยเฉพาะการขึ้นดอยอินทนนท์เรื่องของเบรคนั้นสำคัญกว่าคันเร่งแม้ว่าดอยอินทนนท์จะมีถนนที่ค่อนข้างดีขับง่ายแต่ทางที่ลาดชันอาจทำให้รถยนต์ของเราไถลตกเขาตกดอยหรือแหกโค้งได้ควรเข้าอู่หรือศูนย์บริการให้ตรวจเช็ค ระบบเบรคทั้งระบบว่ายังอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่เช็คยางว่ายังมีดอกอยู่ไหมเพราะดอกยางจะช่วยในการเกาะถนนรวมถึงเส้นของยางช่วยในการรีดน้ำ

เช็คราคาน้ำมันเครื่อง คลิ๊ก : https://www.milework.com/engine-oil/


2. ใช้เกียร์ให้ถูกต้อง

การขับขึ้นดอยอินทนนท์ สำหรับเกียร์ออโต้นั้นหากเจอทางที่เป็นเนินธรรมดาเราอาจใช้เกียร์ D ได้แต่ถ้าเจอทางชันมากๆเราควรเปลี่ยนมาใช้เกียร์ D3 หรือ 2 แต่ถ้าชันมากๆเลยจริงๆควรใช้เกียร์ L หรือเกียร์ต่ำสุด ครับเพราะเกียร์ที่ลดลงมาแม้จะวิ่งได้ช้ากว่าแต่ให้กำลังที่มากกว่า ลดภาระของเครื่องทั้งนี้การเปลี่ยนเกียร์ต่างๆใช้การฟังเสียง กับประสบการณ์ในการขับเป็นสำคัญ

เช็คราคายางแท่นเกียร์ คลิ๊ก : https://www.milework.com/engine-system/category-61...


3. เว้นระยะห่างจากคันหน้า

พราะเราไม่รู้ว่าคันหน้าขับเก่งหรือไม่เก่งบางทีอาจมีไหลถอยหลังมาชนเราก็เป็นได้ทางที่ดีควรเว้นระยะสักนิดหนึ่งเพื่อให้คันหน้ามีระยะเบรคโดยเฉพาะรถยนต์บางคันที่เป็นเกียรร์ธรรมดา เกียร์กระปุก ไม่ใช่เกียร์ออโต้อันนี้จังหวะเปลี่ยนเกียร์ถ้าไม่เก๋าจริงๆมีถอยหลังมา 2-3 เมตรแน่ๆ หรืออาจถึงขั้นตกดอยอินทนนท์กันเลยทีเดียว

เช็คราคาไฟภายนอกรถยนต์ คลิ๊ก : https://www.milework.com/spare-parts-and-chassis/c...


4. ไหลลงดอยให้ใช้เกียร์ช่วย

การไหลลงเขานั้นเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่มักละเลยในเรื่องของการใช้เกียร์ช่วยบางจังหวะ ส่งผลให้ผู้ขับขี่เหยียบเบรคค้าง(เลียเบรค) จนเกิดอาการเบรคไหม้ไปตามๆกัน สังเกตรถบางคันที่ไฟเบรคติดตลอดเวลาแต่รถไหลไปเรื่อยๆ เกิดการเสียดสีหนักส่งผลให้ผ้าเบรคเริ่มส่งกลิ่นเหม็นไหม้ อาการผ้าเบรคไหม้นั้นอาจไม่ได้สามารถสังเกตเปลวไฟได้เหมือนไฟลุกไหม้สิ่งของ แต่เมื่อผ้าเบรคสะสมความร้อนมากจนเกินไปจะเกิดอาการเบรคจม เบรคไม่อยู่ แม้จะกดเบรคติดพื้นรถแล้วก็ตาม วิธีแก้ไขคือพยายามใช้เกียร์ทดรองลงมาเพื่อให้เกียร์ช่วยชะลอความเร็วช่วยอีกแรง ลดภาระของเบรค หากพบทางลงดอยอินทนนท์ที่มีโค้งจำนวนมากๆ เปิดหน้าต่างแล้วสังเกตว่ามีกลิ่นไหม้จากเบรคของเราหรือไม่ ถ้ามีควรจอดพักเป็นระยะให้เบรคเย็นลงก่อนค่อยไปต่อ ทางที่ดีคือใช้ผ้าเบรคที่ทนความร้อนได้สูง ร้อนช้า ระบายความร้อนเร็ว หรือใช้จานเบรคแต่งที่มีประสิทธิภาพในการคายความร้อนได้ดีกว่า

เช็คราคาเบรคเซรามิค ทนความร้อน ระบายความร้อนได้ดี เบรคนุ่ม ฝุ่นน้อย คลิ๊ก : https://www.milework.com/brake-system/?features_ha...


5. เบรคแตกทำอย่างไร?

หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นมาจริงๆคงยากที่จะควบคุมจิตใจให้สงบได้ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นเราควรเตรียมวิธีรับมือไว้ก่อนดีกว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์เหยียบเบรคเท้าแล้วเบรคไม่อยู่อาจเกิดจากสาเหตุเบรคไหม้ หรือแม้แต่เบรคแตกก็ตาม อันดับแรก ห้ามดับเครื่องยนต์เป็นอันขาดเพราะการดับเครื่องยนต์จะทำให้พวงมาลัยล็อคและไม่สามารถบังคับทิศทางได้หลังจากนั้นทดเกียร์ต่ำลงมาที่ D2 ตัวเกียร์จะช่วยชะลอความเร็วของรถยนต์ได้หรือที่เรียกกันว่า Engine Brakeลำดับถัดไปให้เราลองใช้เบรคมือช่วยเพราะถ้ารถเราเบรคแตกจากท่อน้ำมันเบรคที่แตกเบรคมืออาจจะยังพอทำงานได้อย่ากดเบรคมือแบบฉับพลันเพื่อให้รถยนต์ของท่านค่อยๆชะลอและหยุดวิ่งลง ถ้ารถใกล้ๆหยุดแล้วเราอาจเปลี่ยนเกียร์ไปที่ N ได้แล้วในตอนนี้แต่ต้องใจนิ่งๆหน่อยนะแต่ถ้าทั้งหมดที่ทำมาไม่ได้ผลควรมองหาจุดลงจอดให้ดีๆเช่นเนินดินข้างทาง เป็นต้น

เช็คราคาสายพานและท่อยาง คลิ๊ก : https://www.milework.com/belt-and-hose/


การขับรถขึ้น-ลงดอยทางลาดชัน จำเป็นต้องอาศัยความรู้และความชำนาญจึงจะขับได้อย่างปลอดภัยแต่ถึงผู้ขับขี่จะเก่งสักเพียงไร อุบัติเหตุก็อาจเกิดขึ้นได้อยู่ดีเพราะคันอื่นๆอาจไม่ได้ขับเก่งเหมือนเรา ไมล์เวิร์คหวังว่าบทความนี้จะมีส่วนช่วยให้คนไทยที่กำลังจะเดินทางไปเที่ยวเขาเที่ยวดอยอินทนนท์หรือรวมถึงดอยอื่นๆด้วย ให้มีโอกาสลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งจากเทคนิคการขับขี่และระบบต่างๆของรถยนต์


ความคิดเห็น

ยังไม่มีผู้แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น
บทความล่าสุด บทความล่าสุด