0 Your รถเข็นว่าง
19/03/2021
โดย Champ Milework
วิธีแก้ผ้าเบรคเสียงดังภาพหน้าปก

5 วิธีการแก้ผ้าเบรคเสียงดังที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

เช็คราคาผ้าเบรคคลิ๊ก : https://www.milework.com/brake-system/disc-brake-p...

หลายคนอาจจะคิดว่าเสียงดังที่เกิดขึ้นเวลาเบรคนั้นเกิดขึ้นจากผ้าเบรค แต่อันที่จริงแล้วส่วนประกอบอื่นๆของระบบเบรคก็มีส่วนไม่น้อย อย่างเช่น "จานเบรค" เป็นต้น วันนี้ milework นำสาเหตุและวิธีแก้ไขเบื้องต้นมาฝาก



1. จานเบรคสนิมขึ้น

ให้เราสังเกตที่จานเบรคทั้งด้านในและด้านนอกว่ามีสนิมอยู่ในปริมาณที่มากหรือไม่ เพราะสนิมเอกก็อาจเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเสียงดังเวลาที่เรากดเบรค แก้ไขได้โดยการใช้ผ้าทรายขัดสนิมออกไป เพื่อให้หน้าสัมผัสผ้าเบรคกลับมาสะอาดอีกครั้ง โดยเราต้องขัดทั้งด้านนอกและด้านในของจาน รวมถึงขัดหน้าสัมผัสของผ้าเบรคอีกด้วย



2. จานเบรคมัน

แม้ว่าจานเบรคเราจะไม่มีสนิมก็ใช่ว่าจะรอดจากอาการเสียงดังได้ คุณเคยเล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้การสีไหมครับ? จานเบรคที่มีความมันก็ไม่ต่างจากเครื่องสีจำพวก ซอ หรือ ไวโอลินเลย เมื่อเรากดผ้าเบรคไปที่จานเบรคมันๆที่กำลังหมุนแล้วล่ะก็ รับรองว่าเสียงบรรเลงเพลงของเครื่องดนตรีที่ชื่อว่าจานเบรค จะดังขึ้นอย่างแน่นอน แก้ไขได้โดยการเจียรจานเบรค



3. ผ้าเบรคสึก(เป็นเส้น)

การใช้งานผ้าเบรคมาเป็นเวลานานย่อมก่อให้เกิดการสึกหรอ ซึ่งการสึกหรอของผ้าเบรคนั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นเรียบเนียนสม่ำเสมอเต็มแผ่น (อาจสึกหรอบางส่วน) ส่งผลให้ผ้าเบรคเกิดเป็นเส้นหรือขอบ(คล้ายกับเสีนเสียงของเครื่องดนตรีหรือเครื่องเล่นแผ่นเสียง) ดังนั้นวิธีการแก้คือการขัดผ้าเบรคทั้งหน้าสัมผัสให้เรียบ และบริเวณขอบๆเพื่อลบเส้นเหล่านั้นออกไป




4. จานเบรคสึกหรอ(เป็นเส้นๆ)

จานเบรคเองก็อาจมีอาการเช่นเดียวกันกับตัวผ้าเบรค หากจานเบรคสึกหรอตามการใช้งานแต่เกิดเป็นเส้นขึ้นมา ย่อมก่อให้เกิดเสียงรบกวน วิธีแก้ไขคือการเจียรจานเบรคให้หน้าสัมผัสเรียบเสมอกัน



5. อัดจารบี

จารบีเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในระบบเบรค เมื่อแก้ไขทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้วอย่าลืมทาจารบีทั้งด้านบนและด้านล่างของผ้าเบรค แล้วจึงประกอบกลับเข้าไปให้เรียบร้อย



เมื่อไรควรเปลี่ยนผ้าเบรค?

สำหรับรถยนต์ทั่วไปความหนาของผ้าเบรคจะอยู่ที่ 10 mm (ดิสก์เบรค) และ 5 mm (ดรัมเบรค) และเมื่อถูกใช้งานนานเข้า ความหนาจะลดลงเรื่อย ๆ แนะนำให้เปลี่ยนเมื่อความหนาของผ้าเบรคอยู่ที่ 3.5 mm (ดิสก์เบรค) และ 1.5 mm (ดรัมเบรค)*ยกเว้นรถประเภท Eco-car ที่ความหนาของผ้าเบรคปกติจะอยู่ที่ประมาณ 4 mm



เกร็ดความรู้ : วัสดุที่ใช้เป็นส่วนผสมของผ้าเบรค

1. ผ้าเบรค Fully Metallic Material แบบใช้โลหะเป็นส่วนผสมหลัก มีความแข็ง กินจาน แต่เบรคหนึบ

2. ผ้าเบรค Semi Metalic แบบผสมโลหะ จะมีความนุ่มขึ้นมานิดนึง ประสิทธิภาพการเบรคน้อยลงนิดหน่อย แต่นุ่มขึ้น

3. ผ้าเบรค Organic ประสิทธิภาพการเบรคน้อยกว่า 2 แบบแรก ฝุ่นเยอะ แต่ได้ความนุ่ม เหมาะขับในเมืองและไม่จี้ตูดคันหน้า

4. ผ้าเบรค Ceramic ประสิทธิภาพดี ฝุ่นน้อย แต่ราคาสูงขึ้นมาอีก

ซื้อผ้าบรค


ความคิดเห็น

สุดยอดเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
บทความล่าสุด บทความล่าสุด