0 Your รถเข็นว่าง
16/08/2019
โดย Champ Milework

เบรค เป็นส่วนประกอบหลักสำคัญที่สามารถรักษาชีวิตของคุณไว้เมื่อเกิดความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน

แต่จะมีสักกี่คนที่รู้เรื่องภายในระบบเบรคนั้นจริง ๆ

วันนี้เราจะพาท่านไปทำความรู้จักกับส่วนต่างๆของระบบเบรคที่สำคัญๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยของชีวิต


1.น้ำมันเบรค

เปรียบเสมือน “น้ำมันไฮโดรลิก” ในส่วนของระบบเบรค น้ำมันเบรคที่ใช้ในวงการจะประกอบไปด้วยDOT3, DOT4 และ DOT5.1 ยิ่งเกรดตัวเลขมาก คุณสมบัติในการป้องกันจุดเดือดในอุณภูมิสูงมากDOT5 - ไม่นิยมใช้ในวงการรถยนต์ เนื่องจากเป็นซิลิโคน


อายุของน้ำมันเบรคขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ใช้รถ แต่โดยทั่วไปควรเปลี่ยนน้ำมันเบรคทุก ๆ 40,000km.

หรือหากใช้งานน้อยก็ควรเปลี่ยนทุก ๆ 2 ปี เหตุผลที่เราต้องหมั่นคอยเปลี่ยนน้ำมันเครื่องนั้นคือเมื่อผ้าเบรค

เกิดการเสียดสีจะเกิดความร้อนสูง ส่งผลให้น้ำมันเบรคมีจุดเดือด เพราะเหตุนี้จึงต้องมีการเปลี่ยนน้ำมันเบรค

ตามระยะเวลาการใช้งาน และถ้าหากเราใช้น้ำมันเบรคเก่าไปเรื่อย ๆ โดยไม่เปลี่ยน ผลที่ตามมาก็คือ “เบรคไม่อยู่”





2.ผ้าเบรค

ระบบเบรคแบบดิสเบรค อายุการใช้งานเสื่อมสภาพหรือหมดสภาพนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคลโดยตามมาตรฐานคือควรเกิน 30,000km. ขึ้นไปความหนาเต็มผ้าเบรคอยู่ที่ 10 มิล แต่เมื่อไหร่ที่บางถึง 3.5 มิล ก็จะเกิดเสียงดังเพราะเกิดการเสียดสีกับขีดเหล็กเตือนผ้าเบรค ซึ่งมีเป็นลักษณะแผ่นเหล็กบาง ๆ



3.ก้ามเบรคหลัง

ระบบเบรคแบบดรัมเบรค ประกอบไปด้วยผ้าเบรคสองก้าม จะวางอยู่ที่ก้ามด้านหน้าและก้ามด้านหลังโดยจะมีแม่ปั๊มเบรคอยู่ตรงกลาง หรือกระบอกเบรคหลังอยู่ตรงกลาง อีกส่วนประกอบสำคัญคือ จานดรัมเบรคซึ่งถ้าเราเอามาประกอบเข้าหากัน ก้ามเบรคหลังก็จะอาศัยอยู่ภายในทั้งสองฝั่งและจะมีกระบอกเบรกหลังอยู่ตรงกลาง



การทำงาน ก้ามเบรคจะทำงานได้นั้นต้องอาศัยแรงดันจากน้ำมันเบรควิ่งผ่านตัวแป๊ปน้ำมันเบรคแล้วเข้าไปที่ตัวกระบอกเบรคหลัง ข้างในกระบอกเบรคหลังจะมีลูกสูบสำหรับดันถ่างเพื่อให้ก้ามเบรคทำงานแล้วก็จับจานเบรคเพื่อสร้างความฝืดและทำให้รถนั้นหยุดเคลื่อนไหว


ความหนาเต็มอยู่ที่ 5 มิล ก้ามละ 5 มิล เมื่อไหร่ที่บางถึง 1.5 มิล ถึงจะนิยมเปลี่ยนหรือเมื่อไหร่ที่เราเปลี่ยนผ้าดิสเบรคครั้งที่ 2 เรามักจะถึงเวลาเปลี่ยนก้ามเบรคครั้งแรก


เบรคแตก คือ การเบรคไม่อยู่ โดยมีลักษณะจมหรือเกิดการรั่วในระบบเบรค เพราะอันที่จริงแล้วระบบเบรคนั้นเป็นระบบปิด คือจะต้องไม่มีรอยรั่วในระบบ แต่ถ้าหากเกิดรอยรั่วในระบบก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่ารอยรั่วนั้นเกิดมาจากที่น้ำมันไฮโดรลิกหรือน้ำมันเบรครั่วจากภายในออกมาสู่ภายนอก เราจะสังเกตได้จากตัวคาริปเปอร์เบรคหน้าที่เป็นส่วนของดิสเบรคมีคราบน้ำมันซึมอยู่ ในส่วนด้านหลังอาจจะมองไม่เห็น ให้ก้มดูด้านหลังของล้อก็จะเห็นคราบน้ำมันซึมอยู่เช่นเดียวกัน


ทั้งหมดนี้ก็เป็นสาระความรู้เกี่ยวกับระบบเบรคที่พี่กบและทีมงาน Milework เอามาฝากคุณ



ความคิดเห็น

น้ำมันเบรคมันดูดความชื้นในอากาศ การใช้น้ำมันเบรคเกินระยะที่กำหนดมีผลให้ความชื้นที่สะสมในน้ำมันทำให้พวกอุปกรณ์กระบอกแม่ปั๊มเบรคมีโอกาสเป็นสนิมตามดได้ด้วยครับ

เยี่ยมครับ.

แจ๋วครับสำหรับข้อมูลดีๆ รถที่ใช้ทางดอยทางเขา บ่อยๆควรใช้ เครื่องยนต์ในการช่วยชลอลงเขาจะทำให้ยืดอายุเบรกด้วยจ้าขับขี่ปลอดภัย ปฏิบัติตามป้ายจราจร จ้า

เช็คตามระยะเวลาใช้งาน เช่นทุก5 พันโลหรือหมื่นโล

ดูน้ำมันเบรคเป็นประจำและเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดประมาณ 10,000เปลี่ยนที
ถ้าอยากเบรคแล้วคึกผิดปกติเช็คดูผ้าเบรคได้เลยและ เช็คการรั่วซึมของลูกสูบเบรคด้วยครับ

การขับรถไม่กระชาก ไม่เร่งพรวดพราดแล้วเบรคแรงๆ สามารถช่วยยืดอายุของระบบเบรคและผ้าเบรคได้เช่นกันครับ

มี 2 ข้อหลักเลยครับที่สำคัญ
1.คือการใช้งานของผู้ขับขี่ครับ เพราะวิธีการขับของแต่ล่ะบุคคลไม่เหมือนกัน การใช้งานของผู้ขับขี่ถือว่าเป็นข้อสำคัญเหมือนกันครับ
2.คือการตรวจเช็คสภาพเบรค ก่อนการขับขี่ของวันเช็คระบบรถก่อนใช้งานก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันครับแต่ข้อนี้ไม่มีกำหนดตายตัว บางคน อาทิตย์ล่ะครั้ง บางคนก็ก่อนใช้งานทุกวัน บางคนเป็นเดือนก็มี แต่ที่เหมาะสมสำหรับผม อาทิตย์ล่ะครั้งถือว่าเหมาะครับ

ระบบเบรคดูแลโดยการทำความสะอาดบ่อยๆไม่ให้ฝุ่นผ้าเบรคเกาะหนาเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการเบรคลดน้อยลง ส่วนที่สำคัญสำหรับผมก็คือสายน้ำมันเบรค หม้อลมเบรค ปั๊มกดผ้าเบรค เหล่านี้อันตรายถึงชีวิต

เยี่ยมครับ

ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
บทความล่าสุด บทความล่าสุด